วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สารเคมี

ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีในโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์

ได้แบ่งสารเคมีตามประเภทคุณสมบัติของสารและการออกฤทธิ์ ได้แก่
1. ความเป็นกรด ด่าง เช่น Sodium hydroxide, ผงฟอกผ้าขาว, Hydrogen Peroxide
2. ความสามารถในการระเหย เป็นไอ เช่น Chlorhexidine
3. ความสามารถในการติดไฟหรือระเบิด เช่น Isopropyl alcohol (70%, 95% alcohol )
Formaldehyde, 10% acetic acid, Tinner
4. ความสามารถในการซึมผ่านผิวหนัง เช่น ปรอท
5. สารก่อมะเร็ง เช่น Xylene, Phenol
6. สารแก้พิษที่จำเป็นสำหรับสารนั้นๆ เช่น Polyethylene glycol ใช้ผ้าชุบสารนี้เช็ดบริเวณ
สัมผัส Phenol

ได้กำหนดแนวทางการป้องกันความเสี่ยงจากสารเคมีโดย
1. ศึกษาและเรียนรู้สารเคมีประเภทต่าง ๆ
2. เรียนรู้วิธีเก็บสารเคมีและสถานที่ที่เก็บสารเคมีได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. จัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับบุคลากรที่สัมผัสสารนั้นๆ เช่น หน้ากาก ตู้ดูดควัน ถุงมือป้องกันสารเคมี แว่นตาป้องกันสารเคมี
4. การติดฉลาก วัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด วัตถุติดไฟง่าย เพื่อสะดวกแก่การเคลื่อนย้ายเวลาเกิดอุบัติเหตุ
5. การตรวจสุขภาพบุคลากรก่อนรับเข้าทำงานเพื่อป้องกันอันตรายจากการสัมผัส เช่น โรคหอบหืด ภูมิแพ้สารเคมี โรคปอดอักเสบเรื้อรัง
6. การตรวจสุขภาพประจำปี และตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงตามแผนของทีมอาชีวอนามัยกำหนดไว้
7. เรียนรู้ขั้นตอนและซักซ้อมการปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เช่น การล้างด้วยน้ำสะอาดทันทีที่เกิดอุบัติเหตุปนเปื้อนจากสารเคมี ตามคู่มือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
8. การทิ้งขยะที่ปนเปื้อนสารเคมีในกลุ่มขยะอันตราย
9. ข้อห้ามต่างๆ สำหรับห้องปฏิบัติการ เช่น ห้ามดื่มและทานอาหารในห้องปฏิบัติการ ห้ามสูบบุหรี่หรือทำให้เกิดประกายไฟ การทำความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์เคมีอย่างถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น